วันศุกร์ที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2552

Technology


4G ( Forth Generation )


เทคโนโลยี 4จี เป็นเครือข่ายไร้สายความเร็วสูงชนิดพิเศษ หรือเป็นเส้นทางด่วนสำหรับข้อมูลที่ไม่ต้องอาศัยการลากสายเคเบิล โดยระบบเครือข่ายใหม่นี้ จะสามารถใช้งานได้แบบไร้สาย รวมถึงคุณสมบัติการเชื่อมต่อเสมือนจริงในรูปแบบสามมิติ (three-dimensional) ระหว่างผู้ใช้โทรศัพท์ด้วยกันเอง นอกจากนั้น สถานีฐาน ซึ่งทำหน้าที่ในการส่งผ่านสัญญาณโทรศัพท์เคลื่อนที่จากเครื่องหนึ่งไปยังอีกเครื่องหนึ่ง และมีต้นทุนการติดตั้งที่แพงลิ่วในขณะนี้ จะมีให้เห็นกันอย่างแพร่หลายเช่นเดียวกับหลอดไฟฟ้าตามบ้านเลยทีเดียว สำหรับ 4จี จะสามารถส่งผ่านข้อมูลแบบไร้สายด้วยระดับความเร็วสูงที่เพิ่มขึ้นถึง 100 เมกะไบต์ต่อวินาที ซึ่งห่างจากความเร็วของชุดอุปกรณ์ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน ที่ระดับ 10 กิโลบิตต่อวินาที
ลักษณะเด่นของ 4G คือ Forth Generation ซึ่งในบ้านเรายังไม่มีให้เห็นกัน เมื่อพูดถึงเทคโนโลยีสื่อสารในยุค 4G เรื่องความเร็วนั้นเหนือกว่า 3G มาก คือทำความเร็วในการสื่อสารได้ถึงระดับ 20-40 Mbps เมื่อเทียบกับความเร็วที่ได้จาก 3G นั้นคนละเรื่องกันเลย ที่ญี่ปุ่นนั้นเครือข่ายโทรศัพท์ที่ใช้เทคโนโลยี 4G สามารถให้บริการรับชมรายการโทรทัศน์ผ่านมือถือได้แล้ว หรือจะโหลดตัวอย่างภาพยนตร์มาชมบนโทรศัพท์มือถือก็มีให้เห็นเช่นกัน ทำไมญี่ปุ่นถึงรีบกระโดดไปสู่ยุค 4G กันเร็วเหลือเกิน คำตอบง่าย ๆ ก็คือ “ดิจิตอลคอนเทนต์” เป็นตัวผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นนั่นเอง เมื่อผู้ให้บริการหลายหลายรูปแบบที่จะเกิดขึ้นในอนาคต โดยจำเป็นต้องอาศัยเครือข่ายที่มีความเร็วสูง สามารถรับส่งข้อมูลได้ในปริมาณมาก ๆ ดังนั้น การผลักดันตัวเองให้เข้าสู่ยุค 4G ที่ใช้เทคโนโลยีที่เหนือกว่า 3G ก่อนคู่แข่ง น่าจะเป็นการตัดสินใจที่ถูกต้องที่สุด
ความโดดเด่นของ 4G คือ ถูกออกแบบมาเพื่อการใช้งานบนเครือข่ายที่กินพื้นที่กว้างก็ได้หรือจะทำเป็นเครือข่ายขนาดย่อม ๆ แบบ WLAN ได้อีกด้วย นั่นจึงทำให้หลายคนมองว่า 4G จะมาเบียดเทคโนโลยีของ Wi-Fi หรือไม่ เพราะสามารถใช้งานได้ทั้งสองแบบ อย่างไรก็ตามในประเทศไทยยังคงอิงกับมาตรฐานของ 3G อยู่ ซึ่งยังไม่มีทีท่าว่าจะขยับขยายไปสู่ยุค 4G เลย เพราะว่า Wimax กำลังเข้ามานั่นเอง ระบบสื่อสารแห่งอนาคตที่ให้ความยืดหยุ่นสูง สามารถครอบคลุมพื้นที่ได้กว้างไกล ความเร็วในการสื่อสารสูงสุดในขณะนี้ ในเมื่อเป็นเช่นนี้แล้ว ทำไมไม่รวมเทคโนโลยี 3G กับ WiMAX เข้าด้วยกัน และพัฒนาให้เป็น “interim 4G” หรือ “4G เฉพาะกิจ” เพื่อไปเร่งพัฒนา “4G ตัวจริง” (Real 4G) กันออกมาไม่ดีกว่าหรือ จึงเป็นเสียงที่คิดดังๆจากหลายกลุ่มในปัจจุบัน แน่นอนที่ว่า คงจะไม่ใช่แนวคิดของ 4G ที่หลายฝ่ายตั้งความหวังไว้ เพราะอย่างน้อยที่เห็นได้ชัดเจนอย่างหนึ่งคือ เทคโนโลยีทั้งสองยังไม่สามารถรองรับความเร็วในการสื่อสารข้อมูลที่ดาวน์ลิงค์/อัพลิงค์ (downlink/uplink) ขณะกำลังเคลื่อนที่ในกรณีของ GSM ที่ 100 mbps/50 mbps และกรณี CDMA ที่ต้องการให้เหนือกว่า GSM โดยจะให้มีความเร็วเป็น 129 mbps/75.6 mbps
ทำไมจึงอยากได้ 4G เป็นคำถามที่น่าสนใจ มีเหตุผลอะไรจึงอยากได้เทคโนโลยีโทรศัพท์เคลื่อนที่ในยุคที่ 4 หรือ 4G กันมาก ถ้าจะสรุปเป็นคำตอบก็คงจะได้หลายประการด้วยกัน ซึ่งจะกล่าวถึงพอเป็นสังเขปดังนี้
1. สนับสนุนการให้บริการมัลติมีเดียในลักษณะที่สามารถโต้ตอบได้ เช่น อินเทอร์เน็ตไร้สาย และ เทเล คอนเฟอเรนซ์ เป็นต้น
2. มีแบนด์วิทกว้างกว่า สามารถรับ-ส่งข้อมูลด้วยอัตราความเร็ว (bit rate) สูงกว่า 3G
3. ใช้งานได้ทั่วโลก (global mobility) และ service portability
4. ค่าใช้จ่ายถูกลง
5. คุ้มค่าต่อการลงทุนด้านโครงข่าย
หาก 4G จะเกิดจากการรวม WiMax เข้ากับ 3G ท่ามกลางกระแสการแข่งขันระหว่างเทคโนโลยี 3G ที่กำลังถูกเทคโนโลยีใหม่อย่างไวแมกซ์ (WiMAX) เข้ามาตีเสมอ และในอนาคตมีแนวโน้มว่าจะมีโอกาสมาเหนือกว่า 3G อีกด้วย
นักวิเคราะห์และผู้เกี่ยวข้องในวงการโทรคมนาคมหลายกลุ่ม กล่าวกันถึงขนาดที่ว่า ผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่เซลลูลาร์ของหลายประเทศที่ปัจจุบันครองตลาดส่วนใหญ่ของประเทศหรือมีอำนาจเหนือตลาดคงจะไม่ยอมให้บริการไวแมกซ์เกิดขึ้นในตลาดได้ง่ายๆ ประกอบกับบางประเทศยังมีปัญหาต่างๆที่เป็นอุปสรรคต่อการให้บริการไวแมกซ์ เช่น แผนเลขหมายแห่งชาติที่มีการจัดสรรความถี่ให้กับบริการไวแมกซ์ กฎ ระเบียบในการกำกับดูแลเพื่อให้เกิดความเรียบร้อยและมีการแข่งขันที่เป็นธรรม และความพร้อมในการลงทุนของผู้ให้บริการ เป็นต้น หากจะรวมกันจริงๆแล้ว หลายฝ่ายยังมีความเชื่อว่า 3G คงจะไม่ถึงกับไปรวมอยู่ใต้เทคโนโลยีที่เป็นหนึ่งเดียว เนื่องจาก 4G ควรจะเป็นเทคโนโลยีที่สามารถเข้าถึงได้ที่ระดับความเร็วอิเธอร์เน็ต (เช่น 10 Mbps) และใช้งานร่วมกัน (integrated) ได้ทั้งในลักษณะที่เป็นเครือข่ายท้องถิ่นหรือแลน (LAN – local area network) กับแวน (WAN – wide area network) แบบไร้สาย ด้วยการรวมเทคโนโลยี 3G และ WiMAX เข้าด้วยกันในเครื่องเดียวกัน โดยมาตรฐานของ WiMax หรือ 802.16 สามารถให้บริการด้านบรอดแบนด์ไร้สายได้ไกลถึง 30 ไมล์ด้วยความเร็วประมาณ 10 Mbps สิ่งที่ยังเป็นปัญหาอยู่สำหรับบริการ WiMAX มีหลายประการที่ต้องมีการพัฒนาต่อไปจากที่สามารถแก้ปัญหาบางอย่างได้ในระดับหนึ่งแล้ว เช่น ตัวมาตรฐานเองที่ยังไม่ค่อยนิ่งเท่าใดนัก การพัฒนาอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องของโครงข่าย (ซึ่งรวมถึงตัวเครื่องลูกข่ายด้วย) การเคลื่อนที่ของลูกข่ายจากสถานีฐานหนึ่งไปยังอีกสถานีฐานหนึ่งโดยไม่มีปัญหาสายหลุดหรืออาการสัญญาณสะดุด เป็นต้น จึงเป็นที่เชื่อได้ว่าในขณะนี้คงต้องรอให้มาตรฐานเทคโนโลยี WiMAX ผ่านกระบวนการพัฒนาจนถึงขั้นเป็นมาตรฐานที่สมบูรณ์ (mature) แล้ว อาจเป็นไปได้ที่จะมีความพยายามนำเทคโนโลยี 3G และ WiMAX มาผสมผสานกันเป็น 4G หากกลุ่มที่พัฒนา 4G ไม่รีบชิงพัฒนา 4G หนีการรวมตัวกับ WiMAX ไปเสียก่อน

วันพฤหัสบดีที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2552

ภูลังกา อ.ปง จ.พะเยา


วนอุทยานภูลังกา
อยู่ในท้องที่อำเภอเชียงคำและอำเภอปง จังหวัดพะเยา อยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าน้ำเปื๋อย ป่าน้ำหยวนและป่าน้ำลาว และป่าสงวนแห่งชาติป่าแม่ยม มีเนื้อที่ประมาณ 7,800 ไร่ กรมป่าไม้ได้ประกาศจัดตั้งเมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2545

ลักษณะภูมิประเทศ
เป็นภูเขาสูงชันอยู่ในเทือกเขาสันปันน้ำ วางตัวอยู่ในแนวตะวันออก-ตะวันตก สูงจากระดับน้ำทะเลปานกลางประมาณ 900-1,720 เมตร มีลำห้วยที่สำคัญ คือ น้ำแม่คะไหลผ่านด้านทิศใต้ ห้วยน้ำต้มและน้ำแม่รูไหลลงน้ำแม่รูทางด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้ ห้วยคะแนงและห้วยป่ายางไหลลงน้ำแม่ลาวทางทิศเหนือ ลำห้วยทั้งหมดจะไหลลงสู่แม่น้ำยมต่อไป

พันธุ์ไม้และสัตว์ป่า
พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นป่าดงดิบเขาและดงดิบริมห้วย ประมาณ 63% มีพันธุ์ไม้เด่นได้แก่ไม้ในวงศ์ไม้ก่อ เช่น ก่อเดือย ก่อใบเลื่อม ก่อแป้น ก่อลิ้มและก่อหรั่ง ทะโล้ กำยาน นางพญาเสือโคร่ง และกำลังเสือโคร่ง เป็นต้น ป่าโปร่ง ประมาณ 21% มีพันธุ์ไม้เด่นที่พบได้แก่ ทะโล้ ไม้ก่อ ค่าหด ช้าแป้น ปอเลียงฝ้าย กางหลวง และเป็นทุ่งหญ้า ประมาณ 16% มีพันธุ์ไม้จำพวกหญ้าคา เลา หญ้าพง แขม และสาบแล้งสาบกา เป็นต้น ในอดีตพื้นที่บริเวณไหล่เขาใกล้ยอดดอยเคยเป็นพื้นที่ปลูกฝิ่นในปัจจุบันอยู่ในขั้นตอนของการทดแทนทางธรรมชาติและเป็แหล่งต้นน้ำชั้น 1A เป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำยม

สัตว์ป่า
ที่พบได้แก่ เก้ง หมูป่า เลียงผา อ้นเล็ก กระจงเล็ก กระแตใหญ่เหนือ กระรอก เสือโคร่ง เสือดาว หมี ชะมด อีเห็น และสัตว์จำพวกนกและสัตว์เลื้อยคลานต่างๆ

แหล่งท่องเที่ยว
  • ดอยภูนม เป็นสันเขาแคบๆทอดตัวต่อลดหลั่นมาจากดอยภูลังกา เป็นยอดดอยหัวโล้นมีหญ้าปกคลุมและลมพัดแรงบนยอดสามารถชมทิวทัศน์ได้รอบโดยเฉพาะทะเลหมอก พระอาทิตย์ขึ้นและตก

  • ดอยภูลังกา เป็นสันเขาแคบๆ ด้านตะวันตกเป็นป่าดงดิบเขาด้านทิศตะวันออกเป็นหน้าผาสูงชันมีหญ้าปกคลุมและลมพัดแรง เมื่อขึ้นไปบนยอดดอยชมพระอาทิตย์ขึ้นและทะเลหมอกยามเช้าได้สวยงาม และสามารถมองเห็นประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

  • ดอยหัวลิง ถ้ามองทางทิศเหนือหรือใต้จะเห็นยอดดอยคล้ายหัวลิงหันหน้าไปทางทิศตะวันออก ด้านตะวันตกเป็นป่าดงดิบเขาด้านทิศตะวันออกเป็นหน้าผาสูงชันมีหญ้าปกคลุมและลมพัดแรง เหมาะสำหรับชมทะเลหมอกและ พระอาทิตย์ขึ้น

บ้านพัก-บริการ

วนอุทยานภูลังกาไม่มีบ้านพักหรือค่ายพักแรมบริการแก่นักท่องเที่ยว หากนักท่องเที่ยวมีความประสงค์จะไปพักแรมค้างคืนเพื่อพักผ่อนหย่อนใจ หรือศึกษาหาความรู้ทางธรรมชาติ โปรดนำเต็นท์และเตรียมอาหารไปเอง โดยทางวนอุทยานได้จัดสถานที่ไว้ให้พร้อมกับห้องสุขา ให้ไปติดต่อขออนุญาตใช้สถานที่กับเจ้าหน้าที่ที่วนอุทยานภูลังกาโดยตรง

การเดินทาง

รถยนต์ การเดินทางไปวนอุทยานภูลังกามี 3 เส้นทาง ดังนี้

1.เดินทางจากอำเภอเมืองเชียงรายตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1148 ถึงอำเภอเทิง ระยะทาง 64 กิโลเมตร จากอำเภอเทิงถึงอำเภอเชียงคำ 26 กิโลเมตร ไปบ้านทุ่งหล่มใหม่ 8 กิโลเมตร แล้วเลี้ยวซ้ายไปทางทิศเหนือถึงบ้านแฮะ 12 กิโลเมตร เลี้ยวขวาไปอีก 5 กิโลเมตร แล้วเลี้ยวซ้ายไปทางทิศเหนือถึงวนฯ 12 กิโลเมตร รวมระยะทางทั้งหมด 127 กิโลเมตร

2.เดินทางจากจังหวัดพะเยาผ่านอำเภอปงถึงแยกทางเข้าอำเภอเชียงคำตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1092 ระยะทาง 104 กิโลเมตร แล้วเดินทางต่ออีก 3 กิโลเมตร ตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1148 เลี้ยวซ้ายไปทางทิศเหนือถึงวนฯ 12 กิโลเมตร รวมระยะทาง 119 กิโลเมตร

3.เดินทางจากอำเภอเมืองน่านถึงอำเภอท่าวังผาตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข1080 ระยะทาง 43 กิโลเมตร เดินทางไปทางเหนือแล้วเลี้ยวขวาไปอำเภอสองแถวตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1148 ระยะทาง 33 กิโลเมตร จากอำเภอสองแถวถึงอำเภอเชียงคำแล้วเดินทางต่อไปถึงวนฯ 71 กิโลเมตร รวมระยะทางทั้งหมด 147 กิโลเมตร

วันเสาร์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

Hello again! (ประถมศึกษาปีที่ 3)

แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1

สาระการเรียนรู้ ภาษาต่างประเทศ รายวิชา ภาษาอังกฤษ
หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 My class ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
เรื่อง Hello again ! เวลา 2 ชั่วโมง

1.มาตรฐานการเรียนรู้
ต 1.2 มีทักษะการสื่อสารทางภาษาในการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร แสดงความรู้สึกและความคิดเห็นอย่างมีประสิทธิภาพ

ตัวชี้วัด ( ชั้น ป. 3 )
ม.1/1. พูดโต้ตอบด้วยคำสั้นๆง่ายๆในการสื่อสารระหว่างบุคคลตามแบบที่ฟัง
ม.1/4. พูดขอและให้ข้อมูลง่ายๆเกี่ยวกับตนเองและเพื่อนตามแบบที่ฟัง

2.มาตรฐานคุณภาพการศึกษาของโรงเรียน
ข้อที่ 5 ผู้เรียนมีความรู้และทักษะที่จำเป็นตามหลักสูตร
ตัวบ่งชี้ที่ 5.4 สามารถใช้ภาษาเพื่อการสื่อสารได้ทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ

ข้อที่ 6 ผู้เรียนมีทักษะในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง รักการเรียนรู้และพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง
ตัวบ่งชี้ที่ 6.3 มีวิธีการเรียนรู้ของตนเอง เรียนรู้ร่วมกับผู้อื่นได้ สนุกกับการเรียนรู้และชอบมาโรงเรียน

3.สาระสำคัญ
เราจะใช้ Hello ในการทักทายกับผู้ที่เรารู้จักคุ้นเคยกัน แล้วจึงถามทุกข์สุขของผู้อื่นด้วยประโยค
How are you ? ซึ่งถือว่าเป็นมารยาท

4.จุดประสงค์การเรียนรู้
1. พูดกล่าวคำทักทายกับบุคคลอื่นได้
2. ใช้ประโยคที่กำหนดให้ ในการถามทุกข์สุขได้
3. อ่านออกเสียงและบอกความหมายของคำศัพท์ตามที่กำหนดได้

5.สาระการเรียนรู้
ความรู้
1. กล่าวทักทายกับบุคคลอื่น
2. อ่านคำศัพท์และแปลความหมายได้ถูกต้อง
ทักษะกระบวนการ
1. กระบวนการปฏิบัติ
2. กระบวนการทำงานกลุ่ม
คุณลักษณะอันพึงประสงค์
1. มีความใฝ่รู้ใฝ่เรียน
2. มีความรับผิดชอบในงานที่ได้รับมอบหมาย
3. มีความกล้าแสดงออก

6.กิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นกระบวนการ
รูปแบบการเรียนรู้โดยการสร้างความรู้ด้วยตนเอง
กิจกรรมการเรียนรู้ ( 2 ชั่วโมง ) ใช้รูปแบบการเรียนรู้โดยการสร้างความรู้ด้วยตนเอง
ขั้นที่ 1 ขั้นแนะนำ ( 10 นาที )
-ครูให้นักเรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียน ( Pre-test) โดยแจกแบบทดสอบให้นักเรียนทุกคนและอ่านให้ฟัง จากนั้นให้นักเรียนวงกลมคำตอบที่ถูกต้อง เสร็จแล้วส่งคืนให้ครู โดยไม่มีการเฉลยคำตอบ
ขั้นที่ 2 ขั้นทบทวนความรู้เดิม ( 5 นาที )
-ครูเริ่มกล่าวทักทายนักเรียนในห้องว่า Hello, everyone. How are you ? และให้นักเรียนพูดกล่าวทักทายตอบครูพร้อมกัน
-ครูเดินเข้าไปหานักเรียนทีละคน (ประมาณ 5-6 คน) และกล่าวคำทักทายนักเรียนแต่ละคนว่า Hello, (ชื่อนักเรียน). How are you? และให้นักเรียนตอบครู
ขั้นที่ 3 ขั้นปรับเปลี่ยนความคิด ( 45 นาที )
-ครูแนะนำตัวละครที่อยู่ในหนังสือ โดยชูบัตรคำชื่อตัวละครและแนะนำตัวละคร โดยใช้โครงสร้างประโยค
He’s…………….. , She’s………………….
Sam, Tom, Jack, Ginger, Anne, Lisa, Mrs. Wood และ Mrs. Bell
-ครูแจกบัตรคำชื่อตัวละครให้นักเรียนถือคนละ 1 ชื่อ และสุ่มนักเรียนที่เหลือให้พูดทักทายตัวละครที่ครูชี้ และให้ตัวละครทักทายตอบ โดยใช้โครงสร้างประโยค ดังนี้
A: Hello, (ตัวละคร). How are you?
B: Fine, thanks.
-ครูบอกนักเรียนว่า เมื่อเริ่มทักทายคนที่รู้จักให้ทักทายว่า “Hello” แล้วตามด้วยชื่อคนๆนั้น แล้วให้ถามสารทุกข์ต่อทันทีว่า “How are you?” จากนั้นคนที่เราทักทายจะตอบกลับว่า “Fine, hanks.”
-ครูพูดบทสนทนาจากหนังสือเกี่ยวกับการทักทาย 1 ครั้งให้นักเรียนฟัง
Anne : Look !
Tom : Here’s Sam.
Sam : Hello, everyone. How are you?
Lisa and Anne : Fine, thanks.
Tom : Where’s Gineger? Here she is. She’s in a bag.
Ginger : Hello, children.
Sam, Tom and Jack : Hi, Ginger.
-ครูให้นักเรียนอ่านออกเสียงบทสนทนาจากหนังสือ โดยให้อ่านตามครู 1 ครั้ง จากนั้นให้อ่านเองพร้อมกันอีกรอบ
ขั้นที่ 4 ขั้นนำความคิดไปใช้ ( 30 นาที )
-ครูให้นักเรียนแบ่งกลุ่มๆละ 6 คน ให้ฝึกพูด 10 นาที จากนั้นครูให้ออกมาพูดหน้าชั้นเรียนทีละกลุ่ม ครูคอยฟังและตรวจสอบความถูกต้องของการออกเสียง ที่นักเรียนแต่ละคนพูดและแก้ไขให้นักเรียนออกเสียงจนถูกต้อง
-ครูให้นักเรียนทำแบบฝึกหัด เสร็จแล้วร่วมกันเฉลยคำตอบ
-ครูให้นักเรียนทำผลงาน โดยการเขียนบทสนทนาพร้อมกับวาดภาพประกอบ เป็นการบ้าน
ขั้นที่ 5 ขั้นทบทวน ( 30 นาที )
-ครูให้นักเรียนอ่านออกเสียงบทสนทนาและคำศัพท์ที่ได้ฝึกอ่านไปแล้ว และคอยสังเกตว่านักเรียนคนใดที่ยังออกเสียงไม่ถูกต้อง และแก้ไขให้นักเรียนออกเสียงจนถูกต้องอีกครั้ง
-ครูตรวจชิ้นงานและทำการประเมินผลงาน
-ครูวิจารณ์ผลงานของนักเรียน เพื่อเสนอแนะความคิดเห็นให้นักเรียนนำไปปรับปรุงและพัฒนาผลงานต่อไป
-ครูให้นักเรียนทำแบบทดสอบหลังเรียน ( Post-test) โดยแจกแบบทดสอบให้นักเรียนทุกคน จากนั้นให้นักเรียนวงกลมคำตอบที่ถูกต้อง เสร็จทำการเฉลยคำตอบ โดยการสลับแบบทดสอบกับเพื่อนๆ และฟังคำเฉลยจากครู เมื่อเฉลยเสร็จครูแจกแบบทดสอบก่อนเรียนคืนนักเรียน เพื่อเปรียบเทียบคะแนนก่อนและหลังเรียน

7.สื่อ / แหล่งการเรียนรู้
สื่อการเรียนรู้
1. บัตรคำศัพท์
2. สื่อการเรียนรู้ New aha! English ป.3
3. ผลงาน เรื่อง Hello again!
แหล่งการเรียนรู้
1. ห้องสมุด
2. หนังสือเรียน New aha! English ป.3

8.กิจกรรมเสนอแนะ
1. สามารถหาสื่อการเรียนรู้เพิ่มเติมที่เกี่ยวกับเนื้อหาที่สอนได้
2. สามารถบูรณาการรูปแบบการเรียนรู้อื่นๆ และใช้เทคนิคการสอนต่างๆ มาใช้ร่วมได้ตามความเหมาะสม

ประวัติส่วนตัว


น.ส.ทิพย์นัดดา ธารธีรวัฒน์
บาล์ม
272 ม.1 ต.นาปรัง อ.ปง จ.พะเยา 56140
ป.ตรี ศศ.บ. ภาษาอังกฤษ (มน.พะเยา)
ป.บัณฑิต วิชาชีพครู (มรช.เทิง)